ศัลยกรรมช่องปากและฟัน

  • ข้อมูลเบื้องต้น
  • ถอนฟัน
  • ผ่าฟันคุด
  • ปลูกกระดูก
  • ผ่าตัดขากรรไกร
  • ผ่าตัดเหงือก

ข้อมูลเบื้องต้น

ศัลยศาสตร์ช่องปาก เป็นวิธีการรักษาทางทันตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยผ่าตัด และการรักษาจากการบาดเจ็บ หรือข้อบกพร่องในหัว คอ ใบหน้า กราม และเนื้อเยื่อแข็งหรืออ่อนในช่องปาก (ปาก) และใบหน้าขากรรไกร (ขากรรไกรและใบหน้า )

วิธีการ:

  • การถอนฟัน
  • การผ่าฟันคุด
  • การผ่าฟันฝัง
  • การผ่าตัดเพื่อปลูกกระดูก หรือ เสริมสันเหงือก
  • การผ่าตัดยกพื้นไซนัส
  • การตกแต่งเบ้าฟัน และการตัดกระดูกเบ้าฟัน
  • การเพิ่มความลึกช่องปาก
  • การผ่าตัดกำจัดถุงน้ำ หรือก้อนเนื้อต่างๆ
  • การผ่าตัดย้ายเส้นประสาท
  • การตัดเหงือกเพื่อเพิ่มความยาวฟัน
  • การตัดปุ่มกระดูก
  • การผ่าตัดเพื่อจัดแต่งขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน
  • การผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของกระดูกขากรรไกร
  • การปรับตำแหน่งขากรรไกร
  • การจัดการกับรูปหน้าที่ผิดปกติ

ถอนฟัน

ข้อบ่งชี้ในการถอนฟัน

  • โรคเหงือกอักเสบรุนแรง
  • กระดูกละลาย
  • ฟันโยก
  • ฟันที่ติดเชื้อ
  • ฟันผิดปกติ
  • เพื่อการจัดฟัน
  • เพื่อการทำฟันปลอม

            ในการถอนฟันแต่ละซี่จะใช้เวลาที่ต่างกัน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความยากง่ายของการถอนฟัน ถ้าหากฟันเหลือน้อยเนื่องจากฟันผุหรือแตก การรักษาอาจใช้เวลานานกว่าปกติ ทันตแพทย์จะทำการตรวจ เอ็กซเรย์ภายในช่องปาก ซักประวัติโรคประจำตัวและประวัติแพ้ยาก่อนทำการรักษา

ผ่าฟันคุด

                บางครั้งฟันคุดหรือฟันกรามซี่สุดท้าย จำเป็นต้องมีการถอนออก เพราะว่าอยู่ในลักษณะที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ตามปกติ หรือไม่ได้อยู่ในแนวที่เดียวกับฟัน ส่วนมากฟันคุดจะเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย หรือช่วงอายุยี่สิบต้นๆ

หากปล่อยฟันคุดไว้จะมีความเสี่ยงต่อภาวะต่างๆดังต่อไปนี้

  • เหงือกในบริเวณที่ปกคลุมฟันคุดอักเสบหรือมีการติดเชื้อ
  • เกิดจากฟันผุที่ฟันกรามซี่ข้างเคียง
  • โรคปริทันต์ (โรคเหงือก)
  • พยาธิวิทยา- ซีสต์เนื้องอก
  • อาจเกิดความเสียหายต่อฟันซี่ที่ติดกัน หรือมีการละลายตัวของกระดูกที่รองรับฟันซี่ที่ติดกัน เป็นผลจากแรงดันของฟันคุด
  • อาการปวดเรื้อรังหรือรู้สึกไม่สบาย
  • ปัญหาเกี่ยวกับการจัดฟันได้ในตำแหน่งที่ไม่ดี หรือมีฟันหน้าซ้อนเก

ประเภทของฟันคุด

  1. ฟันคุดที่โผล่ขึ้นเต็มซี่
  2. ฟันคุดที่โผล่ขึ้นบางซี่
  3. ฟันคุดที่ยังฝังจมทั้งซี่

            ฟันคุดแต่ละประเภทต้องใช้ระยะเวลาและค่ารักษาที่แตกต่างกัน ระดับความเจ็บปวดและอาการบวมจะแตกต่างกันไปสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับประเภทของฟันคุดและความยากลำบากในการรักษาและการตอบสนองแบบส่วนตัวของคนไข้

ปลูกกระดูก

การปลูกกระดูก คือ การผ่าตัดเสริมทดแทนกระดูกส่วนที่หายไป ซึ่งวิธีในการรักษาหลายวิธี โดยที่ค่ารักษาจะขึ้นอยู่กับแต่ละวิธีการรักษา และปริมาณของวัสดุกระดูกสังเคราะห์ โดยส่วนใหญ่งานปลูกกระดูกจะทำร่วมกับการทำรากเทียม หรืองานรักษาโรคเหงือกที่มีการละลายตัวของกระดูก

สาเหตุที่กระดูกรองรับรากฟัน และกระดูกขากรรไกรละลายตัว

  1. การสูญเสียฟันในบริเวณนั้นมานาน
  2. ฟันปลอมแบบถอดได้กดทับ
  3. โรคปริทันต์เหงือกอักเสบ
  4. โรคทางระบบบางประเภท
  5. อุบัติเหตุบริเวณใบหน้าและขากรรไกร
  6. ประวัติการอักเสบติดเชื้อก่อนถอนฟัน

ประเภทของการปลูกกระดูก

  1. Autogenous bone graft การปลูกกระดูก โดยใช้กระดูกจากบริเวณขากรรไกรล่างของคนไข้ (Ramus bone graft)
  2. Synthetic bone graft การปลูกกระดูก โดยใช้กระดูกสังเคราะห์ที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน และมีความบริสุทธ์

ผ่าตัดขากรรไกร

การผ่าตัดขากรรไกรหรือศัลยกรรมช่องปากเป็นประเภทของการผ่าตัด ดังต่อไปนี้:

  • รักษาร่วมกับการจัดฟันเพื่อแก้ไขตำแหน่งของขากรรไกร
  • แก้ไขภาวะผิดปกติที่มีมาแต่กำเนิด เช่น ปากแหว่งเพดานโหว่

วิธีการนี้โดยทั่วไปต้องทำภายใต้การดมยาสลบโดยศัลยแพทย์ช่องปากและใบหน้า การรักษาอาจข้องเกี่ยวกับกรามบนหรือล่าง หรือทั้งบนล่างควบคู่กัน ขึ้นอยู่กับข้อบ่งชี้และแผนการรักษา มักมีความจำเป็นต้องใช้แผ่นสกรู เพื่อช่วยในการยึดกระดูกแต่ละส่วนโดยเฉพาะเนื้อเยื่ออ่อนบริเวณใบหน้า คาง แก้ม ริมฝีปาก และปลายจมูกจะเคลื่อนที่ไปตามตำแหน่ง ขากรรไกรที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นเมื่อขากรรไกรถูกวางไว้อย่างถูกตำแหน่งสอดคล้องกับลักษณะใบหน้า จะส่งผลให้มีรูปลักษณ์ใบหน้า และการสบฟันที่ดีขึ้น

วัตถุประสงค์หลักของการผ่าตัดร่วมกับการจัดฟัน คือ การปรับปรุงการบดเขี้ยว แต่ด้วยผลของการมีรูปลักษณ์ใบหน้าที่ดีขึ้น มีคนไข้จำนวนมากสามารถปรับปรุงบุคลิกภาพและการพูดของพวกเขาที่นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ผ่าตัดเหงือก

การผ่าตัดเหงือกมีหลากหลายประเภทเพื่อแก้ไขหรือเอื้อต่อการรักษาทางทันตกรรมอื่น ๆ เช่น การครอบฟัน การอุดฟัน

ประเภทการผ่าตัดเหงือกที่พบบ่อย ได้แก่
1.การผ่าตัดเพิ่มความยาวตัวฟัน

ในกรณีคนไข้ที่มีฟันผุหรือส่วนขอบของฟันแตกใต้เหงือก และต้องทำการอุดฟันหรือครอบฟัน จำเป็นจะต้องผ่าตัดเหงือกเพื่อให้ลดระดับเหงือกหรือกระดูกต่ำลงใต้ส่วนที่ผุหรือแตกเพื่อให้ขอบของวัสดุอุดหรือขอบของครอบฟันสามารถวางได้คลุมในส่วนนั้น ในบางกรณีการครอบฟันหรือเคลือบฟันเทียมเพื่อความสวยงาม อาจใช้การผ่าตัดเหงือกร่วมด้วยเพื่อปรับปรุงรูปร่างให้ตัวฟันมีความสวยงามเพิ่มขึ้น

ขั้นตอน

การรักษาใช้เวลาระหว่าง 1-2 ชั่วโมง และสามารถทำได้บนฟันหนึ่งซี่หรือฟันหลายซี่ จะการฉีดยาชาเฉพาะที่ก่อนการผ่าตัดและมีการเย็บแผล

2. Distal wedge operation

ขั้นตอนนี้ คือ การผ่าตัดเหงือกส่วนเกินบริเวณด้านหลังของฟันกรามล่างซี่สุดท้าย ซึ่งมักพบเป็นสาเหตุที่ทำให้เหงือกบวม อักเสบ และยังามารถใช้กับการกำจัดนื้องอกหรือเนื้อเยื่อบางประเภทได้

3. การเปิดเหงือกร่วมด้วยกับการเกลารากฟัน

การรักษานี้ทำเพื่อเพิ่มการเข้าถึงการขูดหินปูน และการเกลารากฟัน เพื่อลดคราบจุลินทรีย์และแบคทีเรียที่อยู่ใต้เหงือก ทำให้ร่องลึกหรือตำแหน่งของเหงือกจะลดขนาดพื้นที่ลง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดเชื้อโรคและแบคทีเรีย หลังจากเกลารากฟันเสร็จสิ้นจะมีการเย็บเหงือกกลับเข้าที่ตำแหน่งเดิม